วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551



วันที่ 21-23 พ.ย.2551 โรงเรียนราชินีบูรณะ นำนักเรียนม.5ไปเข้าค่ายที่วัดหลวงพ่อสด อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี


วันอังคาร ที่ 25 พ.ย.2551 นักเรียนชั้น ม.4-ม.5 ไปชมนิทรรศการพระพี่นางที่พระเมรุมาศ

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

Video ส่งนางฟ้ากลับสวรรค์

ประวัติพระพี่นาง


ทรงพระเยาว์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นพระธิดาพระองค์แรกใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ณ สถานพยาบาล กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พระนามในพระสูติบัตรเมื่อแรกประสูติ คือ เมย์ ตามเดือนที่ประสูติ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงมีพระอนุชา 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระภัทรมหาราช พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา และ ในพ.ศ. 2478 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเฉลิมพระเกียรติเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ครั้นเมื่อทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ ใน พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ เป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในตามธรรมเนียมราชประเพณีเป็นพระองค์แรกในรัชกาลทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ หลังจากที่ประสูติได้ไม่นานนัก สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงย้ายจากกรุงลอนดอนไปประทับอยู่ที่เมืองเซาท์บอน ทางฝั่งตะวันออก และหลังจากนั้นไปประทับที่เมืองบอสคัม ทางชายฝั่งทะเลด้านใต้ของประเทศอังกฤษ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ประทับ ณ ประเทศอังกฤษ จนถึงเดือน ต.ค. พ.ศ. 2466 ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี เสด็จกลับประเทศไทย เมื่อเสด็จถึงประเทศไทย สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้พระราชทานพระตำหนักใหญ่ของวังสระปทุมเป็นที่ประทับ พระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตดุล ซึ่งเป็นพระสหายสนิทของสมเด็จพระบรมราชชนนี ระหว่างที่ทรงศึกษาวิชาพยาบาลที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นผู้ถวายการอภิบาล ต่อมาพ.ศ. 2468 สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ตามเสด็จ สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนีไปประเทศเยอรมนีและประเทศฝรั่งเศส
การศึกษา ใน พ.ศ. 2469 สมเด็จพระบรมราชชนก เสด็จกลับประเทศไทย เพื่อทรงร่วมในพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างนั้น สมเด็จพระบรมราชชนนี ได้ทรงนำพระธิดาและพระโอรสพระองค์ แรกไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทรงฝากให้อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กโซเลย์ (Champ Soleil) หลายเดือน สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จึงทรงเริ่มรับสั่งภาษาฝรั่งเศส ในปลาย พ.ศ. 2469 สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงนำครอบครัวไปประทับที่เมืองบอสตัน (Boston) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อทรงศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเริ่มศึกษาในระดับอนุบาลที่โรงเรียนพาร์ค (Park School) ใน พ.ศ. 2471 เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกทรงสำเร็จการศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาด (Harvard) จึงได้ทรงนำครอบครัวเสด็จกลับประเทศไทย และประทับ ณ พระตำหนักใหญ่ วังสระปทุม สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนราชินี และทรงศึกษาอยู่จนถึง พ.ศ. 2476 ภายหลังที่สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จทิวงคตใน พ.ศ. 2472 สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประทับอยู่ที่กรุงเทพฯ ต่อไปอีกระยะหนึ่ง จนถึง พ.ศ. 2476 สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงได้รับพระบรมราชานุญาตให้นำพระโอรส-พระธิดาทั้ง 3 พระองค์ไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เข้าศึกษาในโซเลย์อีกครั้งหนึ่ง เป็นเวลา ๒ เดือน แล้วจึงเข้าศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาชื่อเมียร์มองต์ (Miremont) การศึกษาที่เมียร์มองต์นั้นครูมีการอ่านเรื่องสั้นๆ ให้ฟัง นักเรียนจะต้องเขียนเรื่องที่ได้ฟังส่งให้ครูตรวจ ในระยะแรกทรงเขียนได้เพียง 1 บรรทัด จากเรื่องยาวประมาณครึ่งหน้ากระดาษที่ครูอ่าน ครั้งหนึ่งครูให้เขียนประโยคเกี่ยวกับ TAON (ตัวเหลือบ) ทรงเข้าพระทัยคิดว่าเป็น PAON (นกยูง) เพราะเสียงคล้ายกัน จึงทรงเขียนว่า "TAON เป็นนกที่สวยงาม" แต่อีกต่อมาประมาณ 2 ปี ก็ทรงเขียนร่วมกับนักเรียนชาวสวิตได้อย่างดี จนจบชั้นประถมศึกษา พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศสละราชสมบัติ และรัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลขึ้นครองราชย์สมบัติ หลังจากนั้นสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงนำพระโอรส-พระธิดา ไปประทับที่บ้านซึ่งพระราชทานนามว่า วิลล่าวัฒนา (Villa Vadhana) เมืองปุยยี ใกล้กับโลซาน พ.ศ. 2478 สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสตรี ชื่อ École Supérieure de Jeunes Filles de la Ville de Lausanne ชั้นมัธยมศึกษาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์นับจาก ชั้น 6 5 4 3 2 1 ทรงสามารถสอบเข้าชั้น 5 ในระดับมัธยมศึกษาได้ ทรงเรียนภาษาเยอรมันและภาษาละตินด้วย พ.ศ. 2481 ทรงย้ายไปศึกษาต่อที่เจนีวา ในลักษณะของนักเรียนประจำที่ International School of Geneva ทรงสอบผ่านชั้นสูงสุดของระดับมัธยมศึกษาได้เยี่ยมเป็นที่ 1 ของโรงเรียน และที่ 3 ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พ.ศ. 2485 ได้เสด็จเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ในคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมี ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี และได้รับ Diplôme de Chimiste A เมื่อ พ.ศ. 2491 ในระหว่างที่ทรงศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยโลซานน์ ได้ทรงเข้าศึกษาหลักสูตรของสังคมศาสตร์ - ครุศาสตร์ Diplime de Sciences Sociales Podagogiques อันประกอบด้วยวิชาต่างๆ ในสาขาวิชาการศึกษา วรรณคดี ปรัชญา และจิตวิทยา แม้เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาเคมีแล้ว ก็ยังทรงศึกษาวิชาวรรณคดีและปรัชญาต่อไปอีกด้วยความสนพระหฤทัย
การทรงงาน เมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จนิวัติประเทศไทยใน พ.ศ. 2493 สมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงทราบดีว่าพระธิดาโปรดการเป็นครูมาแต่ทรงพระเยาว์ ได้รับสั่งแนะนำให้ทรงงานเป็นอาจารย์ จึงทรงรับงานเป็นอาจารย์พิเศษสอนภาฝรั่งเศสที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงสอนวิชาสนทนาภาษาฝรั่งเศส วิชาอารยธรรมฝรั่งเศส และวิชาวรรณคดีฝรั่งเศส นิสิตที่ได้มีโอกาสเป็นศิษย์ด้วยล้วนปีติยินดีในพระกรุณาธิคุณยิ่งนัก หลายคนรำลึกได้ว่าในวิชาวรรณคดีฝรั่งเศสทรงสอนผลงานของ Victor Hugo นักประพันธ์เอกของโลก สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงสอนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนถึง พ.ศ. 2501 ใน พ.ศ.2512 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ขอรับพระราชทานพระกรุณาให้ทรงเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทรงรับงานสอนและงานบริหารโดยทรงเป็นหัวหน้าสาขาสอนวิชาภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศส และผู้อำนวยการภาษาต่างประเทศ อันประกอบด้วยภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น และรัสเซีย สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงสอนวิชาภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสแก่นักศึกษาชั้นปีต่างๆ และทรงดูแลการสอนของอาจารย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ นอกจากนี้ได้ทรงจัดทำหลักสูตรระดับปริญญาตรีภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสจนสำเร็จในปี พ.ศ. 2516 เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานความรู้ด้านภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม ในระหว่างที่ทรงปฏิบัติงานสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กราบทูลเชิญเป็นองค์บรรยายพิเศษตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 ในปี พ.ศ. 2519 เมื่อพระราชกิจด้านอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ จึงทรงลาออกจากตำแหน่งอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ก็ยังเสด็จเป็นองค์บรรยายพิเศษต่อไปอีก นอกจากนั้น ยังทรงรับเป็นองค์บรรยายพิเศษวิชาภาษาฝรั่งเศสในคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อีกด้วย ต่อมาเมื่อทรงทราบปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพราะเป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในจังหวัดห่างไกลและมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย ก็ได้พระราชทานพระเมตตา เสด็จไปทรงสอนวิชาภาษาฝรั่งเศสโดยประทับอยู่ในวิทยาเขตปัตตานี ดังเช่นอาจารย์อื่นๆ ระหว่างที่ทรงงานสอน ได้ทรงร่วมกิจกรรมทางวิชาการหลายด้าน เช่น ทรงเป็นกรรมการสอบชิงทุน ก.พ. ไปศึกษาต่อต่างประเทศ ทรงเป็นประธานออกข้อสอบภาษาฝรั่งเศสในการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ หลังจากที่ปฏิบัติงานด้านการสอนมาจนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ทรงได้รับการโปรดเกล้าฯ พระราชทานตำแหน่ง ศาสตราจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ด้วยพระปรีชาญาณจากประสบการณ์ที่ทรงงานสอนภาษาฝรั่งเศสมาเป็นระยะเวลานาน จึงทรงตระหนักถึงปัญหาความต่อเนื่องในการเรียนภาษาฝรั่งเศสระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ทรงริเริ่มก่อตั้งสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2520 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การปรับปรุงวิธีการสอนทั้งระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ทรงดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 จนถึง พ.ศ. 2524 จากนั้นก็ทรงดำรงตำแหน่งนายกกิตติมศักดิ์สมาคมฯ มาจนถึงปัจจุบัน สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้พระราชทานพระอนุเคราะห์แก่สมาคมฯ ในทุกทาง อาทิ ทรงสนับสนุนการพิมพ์วารสารของสมาคม เพื่อเผยแพร่ความรู้ใหม่ ๆ พระราชทานพระนิพนธ์บทความลงวารสาร ทรงส่งเสริมให้สมาชิกครูได้เข้ารับการสัมมนา ดูงานและศึกษาต่อ เป็นต้น การเรียนการสอนวิชาภาษาฝรั่งเศสและการวิจัยด้านภาษาฝรั่งเศสในประเทศไทยทั้งระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษาจึงเจริญรุดหน้าเป็นลำดับ



น้อมรำลึก เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ... เชษฐภคินี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์



ตลอดเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา พสกนิกรชาวไทยได้ประจักษ์แก่ใจกันดีว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงปฏิบัติงานถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีด้วยพระวิริยะอุตสาหะยิ่ง เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระ ทำให้ทรงคลายพระราชกังวล และวางพระราชหฤทัย นอกจากงานอันเป็นพระราชกิจแล้ว พระกรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่ายังปรากฏเป็นอเนกอนันต์ จึงนับได้ว่า ทรงเป็นเจ้าฟ้าองค์สำคัญของราชวงศ์ไทย ที่อุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์สุขแห่งปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2466 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ทรงมีพระนามในสูติบัตรเมื่อแรกประสูติว่า เมย์ ตามเดือนที่ประสูติ ทรงเป็นพระธิดาพระองค์แรกในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อีกทั้งยังทรงมีพระอนุชาเป็นพระมหากษัตริย์ไทยถึง 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้พระราชทานนามให้ว่า หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา จากนั้นใน พ.ศ.2470 พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงสถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา และใน พ.ศ.2478 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ทรงเฉลิมพระเกียรติเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยา ณิวัฒนา ครั้น พ.ศ.2538 ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยศักดิ์ เป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในตามธรรมเนียมราชประเพณีเป็นพระองค์แรกในรัชกาล ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

สืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงปฏิบัติพระราชกิจแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหลายวาระ ตลอดจนโดยเสด็จสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อทรงประกอบพระกรณียกิจต่างๆในทุกท้องถิ่นอันทุรกันดารทั่วทุกภูมิภาค ภาพประทับใจที่คุ้นเคยและอยู่ในความทรงจำของประชาชนชาวไทยเรื่อยมา จนถึงทุกวันนี้คือ เมื่อครั้งที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ยังทรงเจริญพระชนม์ชีพ ได้เสด็จฯไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรตามท้องถิ่นทุรกันดารอยู่เสมอ พร้อมกับทรงนำแพทย์อาสาไปให้การรักษาผู้เจ็บป่วย โดยหลายครั้งจะมีสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ตามเสด็จอยู่เคียงข้าง จนเมื่อสมเด็จพระบรมราชชนนีได้เสด็จสู่สวรรคาลัยแล้ว สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ก็ทรงรับช่วงสืบสานพระราชปณิธานเรื่อยมา โดยทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์องค์กรต่างๆ และก่อตั้งองค์กรใหม่ๆของพระองค์เอง รวม 63 มูลนิธิ ล้วนแต่เป็นพระกรณียกิจที่ทรงใฝ่พระทัยทำนุบำรุงเพื่อความเป็นอยู่อันดีของประชาราษฎร์

ด้านการศึกษา เมื่อสมเด็จพระเจ้า พี่นางเธอฯ เสด็จนิวัตประเทศไทยใน พ.ศ.2493 หลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ด้านวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมี จากมหาวิทยาลัยโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทรงศึกษาต่อด้านวรรณคดีกับปรัชญาด้วยความสนพระทัย สมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงทราบดีว่า พระธิดาโปรดการเป็นครูมาแต่ทรงพระ เยาว์ ได้รับสั่งแนะนำให้ ทรงงานเป็นอาจารย์ จึงทรง รับงานเป็นอาจารย์พิเศษสอนภาษาฝรั่งเศส ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ทรงสอนวิชาสนทนาภาษาฝรั่งเศส วิชาอารยธรรมฝรั่งเศส และวิชาวรรณคดีฝรั่งเศส
นอกจากนี้ ยังทรงรับเป็นอาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยทรงเป็นผู้อำนวยการภาษาต่างประเทศ กับหัวหน้าสาขาวิชาภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศส ทรงจัดทำหลักสูตรปริญญาตรีภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสจนสำเร็จ ใน พ.ศ.2516 อย่างไรก็ดี เนื่องจากพระภารกิจด้านอื่นๆเพิ่มมากขึ้นตามลำดับในปี พ.ศ.2519 จึงทรงลาออกจากตำแหน่งอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ยังเสด็จเป็นองค์บรรยายพิเศษตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ
ต่อมา เมื่อทรงทราบว่าคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี ขาดแคลนอาจารย์ เพราะอยู่ในจังหวัดห่างไกล มีปัญหาด้านความปลอดภัย ก็ได้พระราชทานพระเมตตาเสด็จสอนวิชาภาษาฝรั่งเศส โดยประทับอยู่ในวิทยาเขตปัตตานี เช่นเดียวกับอาจารย์อื่นๆ
นอกจากจะพระราชทานพระอนุเคราะห์ แก่สถาบันการศึกษาอย่างสม่ำเสมอแล้ว สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ยังทรงงานด้านวิชาการอันมีคุณูปการ ต่อวงการศึกษาของไทยมากมาย อีกทั้งยังทรงให้ความสำคัญกับการศึกษา วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตลอดจนสนพระทัยโครงการจัดส่งเยาวชนไทย ไปร่วมแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ ทั้งคณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, เคมี, คอมพิวเตอร์ และชีววิทยา โดยพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ และเงินกองทุนสมเด็จย่าเพื่อช่วยเหลือเยาวชนไทย จนสามารถนำเหรียญรางวัลกลับมาถวาย สร้างเกียรติประวัติแก่ประเทศชาติ ขณะเดียวกัน ยังทรงมีพระกรุณารับเป็นองค์นายกกิตติมศักดิ์ และองค์อุปถัมภ์ของสมาคม มูลนิธิกองทุนเกี่ยวกับครู สตรี เด็กอ่อน และโรงเรียนหลายแห่ง พร้อมทั้งพระราชทานเงินทุนสำหรับสร้างโรงเรียน และเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนเสมอมา

ด้านการอ่านและการเขียน
ทรงสนพระทัย การอ่านและการเขียนมาแต่ทรงพระเยาว์ แม้ ขณะทรงศึกษาชั้นประถมปีที่ 1-3 ที่โรงเรียนราชินี ได้ทรงอ่านหนังสือภาษาไทยเท่าที่จะทรงหาได้ แต่ในเวลานั้นหนังสือสำหรับเด็กยังมีน้อย จึงทรงอ่านหนังสือพิมพ์แทน เมื่อทรงเจริญพระชนมายุก็สนพระทัยหนังสือด้านวรรณคดี, ภาษาศาสตร์, ศิลปวัฒนธรรม, โบราณคดี, ประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
ในด้านการเขียน ขณะพระชนมายุราว 9 พรรษา ได้ทรงชวนพระสหายในวังสระปทุมเขียนเรื่องและออกวารสาร รื่นรมย์ ต่อมาสมเด็จพระบรมราชชนนี ได้ทรงสนับสนุนให้ทรงอ่านนิทานภาษาอังกฤษ แล้วเรียบเรียงเรื่องที่ทรงอ่าน ภายหลังได้จัดพิมพ์ในชื่อเรื่อง นิทานสำหรับเด็ก แจกในงานวันคล้ายวันประสูติในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ความสามารถด้านการนิพนธ์เป็นที่ประจักษ์จากผลงานมากมาย อันประกอบด้วย พระนิพนธ์เกี่ยวกับพระราชวงศ์ 11 เรื่อง, พระนิพนธ์แปล 3 เรื่อง, พระนิพนธ์สารคดีเชิงท่องเที่ยว 10 เรื่อง และพระนิพนธ์บทความเชิงวิชาการ 1 เรื่อง

ศิลปวัฒนธรรม
ทรงสนับสนุนศิลปะและการแสดงทางวัฒนธรรมต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ ทั้งยังทรงเป็นแบบอย่างให้ประชาชนเห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรม โดยโปรดเสด็จเยือนสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์, โบราณคดี, พิพิธภัณฑ์ และแหล่งท่องเที่ยว บ่อยครั้งจะทรงแนะนำเรื่องที่พึงเอาใจใส่ อยู่เนืองๆ อาทิ ทรงแนะนำให้เจ้าหน้าที่เตรียม พร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจในประวัติความเป็นมา ความสำคัญ และลักษณะของสถานที่แต่ละแห่งอยู่เสมอ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ยังพอพระทัยที่จะเผื่อแผ่สิ่งที่ทรงรู้เห็นแก่ผู้อื่น ทรงใช้กล้องบันทึกภาพที่ทรงสนพระทัยด้วยพระองค์เอง แล้วทรงนำภาพฝีพระหัตถ์มาจัดทำ เป็นพระนิพนธ์เผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน ทั้งในรูปของหนังสือ และวีดิทัศน์ ทรงเป็นครูผู้ชี้นำประชาชนให้เห็นความสำคัญของประวัติ-ศาสตร์ไทย และมรดกโลกเสมอมา

ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
จากการตามเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนนี ไปทรงเยี่ยมเยียนและพระราชทานความช่วยเหลือแก่ประชาชนในท้องถิ่นห่างไกล โดยเฉพาะในด้านสุขอนามัย ตลอดจนทรงส่งเสริมการพัฒนาการรักษาพยาบาลโรคต่างๆอย่างต่อเนื่อง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ได้ทรงสืบทอดพระราชปณิธานด้านการแพทย์และสาธารณสุขจากสมเด็จพระ บรมราชชนนีอย่างแน่วแน่ โดยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ ของโรงพยาบาลหลายแห่ง รวมถึงมูลนิธิการแพทย์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้ ไม่ว่าจะเป็น มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย, มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม, มูลนิธิเด็กโรค หัวใจ, มูลนิธิขาเทียม รวมถึงกองทุนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อพัฒนาการพยาบาล และมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ตลอดเวลาที่เสด็จปฏิบัติพระกรณียกิจ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ได้ทรงสังเกตความเป็นอยู่ของราษฎร ทรงสอบถามปัญหา และทรงแนะนำให้รู้จักปฏิบัติตนให้ถูกต้องเพื่อป้องกันโรคภัย ทั้งยังทรงมีพระประสงค์ให้เด็กด้อยโอกาสมีพัฒนาการ ทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ประเทศไทยมีประชากรที่มีคุณภาพ ขณะเดียวกัน พระองค์ยังทรงตระหนักถึงปัญหาในชุมชนแออัด ได้เสด็จเยี่ยมชุมชนแออัดหลายแห่งในกรุงเทพฯเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อกระตุ้นให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง สนใจดูแลและพัฒนาชุมชนนั้นๆอย่างเป็นรูปธรรม
สมดังกับที่ทรงเป็น รุ้งงาม แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ทรงอุทิศพระองค์อย่างมิรู้ เหน็ดเหนื่อยเพื่อปวงประชาราษฎร์

กลอนถึงพระพี่นาง

ลาลับแล้วดวงแก้วพริ้งแพรว

ใสสู่สวรรคาลัยไกลหนักหนา

ปวงประชาต่างสะอื้นกลืนน้ำตา

พระมาลาจากข้าไทไปนิรันดร์

น้อมอาลัยพระองค์พระทรงศรี

ต่อจากนี้ไม่มีแล้วดวงแก้วขวัญ

เคยปลดทุกข์บำรุงสุขไทยทั่วกัน

โอ้มิ่งขวัญลาลับแล้วดวงแก้วไทย

ขอพระองค์ทรงสถิตย์วิมานแก้ว

งามเพลิศแพร้วสู่สวรรคาลัย

ขอพระองค์ทรงนิทราทั้งกายใจ

ชนชาวไทยส่งเสด็จพระพี่นางฯ

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ไวยากรณ์ที่น่าสนใจ

Les relatifs ใช้ในการเชื่อมโยงประโยค หรือ ข้อความเข้าด้วยกัน เพื่ออธิบาย หรือขยายความให้ชัดเจนขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยง การกล่าวถึง คำนามนั้นซ้ำอีก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท :
- Les relatifs simples : ได้แก่ qui, que, dont, où
« Qui » แทนที่คำนาม ทั้งคน สัตว์ และ สิ่งของ โดยทำหน้าที่เป็นประธาน ในประโยคที่สอง
- Je regarde une fille ; cette fille est mignonne.---> Je regarde une fille qui est mignonne.- Le TGV est un train rapide. Il roule à 300 km / h.---> Le TGV est un train rapide qui roule à 300 km / h.- Paris est une ville. Elle change tout le temps. Et elle reste toujours la même.---> Paris est une ville qui change tout le temps et qui reste toujours la même.- La femme porte une robe. La femme parle. La robe est en soie.---> La femme qui parle porte une robe qui est en soie.
« Que » แทนที่คำนาม ทั้งคน สัตว์ และ สิ่งของ โดยทำหน้าที่เป็นกรรมตรง ในประโยคที่สอง
- Je regarde une fille. Je connais bien cette fille.---> Je regarde une fille que je connais bien.- Le français est une matière. J'aime cette matière le plus.---> Le français est la matière que j'aime le plus.- La jupe est en jean. Elle porte très souvent cette jupe.---> La jupe qu'elle porte très souvent est en jean.
« Dont » แทนที่คำนาม ทั้งคน สัตว์ และ สิ่งของ ในโครงสร้าง ที่คำกริยามี préposition " de " นำหน้าคำนาม [รวมถึงแสดงความเกี่ยวโยงการเป็น "เจ้าของ" ของคำนามในประโยคที่หนึ่ง ต่อคำนามในประโยคที่สอง]
- La vie est paisible. Je rêve de cette vie.---> La vie dont je rêve est paisible.- Le film a reçu un grand prix au festival de Cannes. Je t'ai parlé de ce film la semaine dernière.---> Le film dont je t'ai parlé la semaine dernière a reçu un grand prix au festival de Cannes.- « Il me restera. » est une chanson. J'adore la musique de cette chanson.---> « Il me restera. » est une chanson dont j'adore la musique.
« Où» เป็น adverbe แทนคำนาม ที่ทำหน้าที่เป็นส่วนขยาย บอก "ภายในสถานที่นั้น" หรือ "ในช่วงเวลานั้น" ในประโยคที่สอง
- Le quartier est très agréable. J'habite dans ce quartier.---> Le quartier où j'habite est très agréable.- Le dimanche est un jour. Beaucoup de magasins sont fermés ce jour.---> Le dimanche est un jour où beaucoup de magasins sont fermés. - Rachinie Bourana est une école de jeunes filles. Beaucoup de jeunes filles de la ville de Nakhonpathom étudient dans cette école.---> Rachinie Bourana est une école de jeunes filles où beaucoup de jeunes filles de la ville de Nakhonpathom étudient.
« ce qui », « ce que », « ce dont » ใช้แทนที่ « la chose qui / que / dont » = สิ่งที่ซึ่ง :
- Ce qui me plaît chez toi, c'est le sourire, ce sont tes yeux...- Elle aime tout ce qui est beau.
- Ce que j'aime chez toi, c'est le sourire, ce sont tes yeux...- Je sais ce qu'elle aime.
- Ce dont j'ai besoin maintenant, c'est d'un café fort.- Dis-moi ce dont tu as envie.
« C'est .......qui / que ... », « Ce sont ........ qui / que ... » : เพื่อที่จะเน้นส่วนใดส่วนหนึ่ง (mettre en valeur) เราใช้ « C'est » หรือ « Ce sont » นำ และตามด้วย « qui » (เมื่อเป็นประธาน) หรือ « que » (เมื่อเป็นกรรมตรง) :
- C'est Prangsaï qui est la seule danseuse de la classe 5/6 alors que Jitsoupang, Phanphimon et Nisa sont dans la classe 5/7.- C'est elle que tu veux voir ?- C'est moi qui suis votre professeur de français.- Ce sont eux qui ont la responsabilité du service. - Ce sont ces fleurs que je veux avoir chez moi. - Les relatifs composés : ได้แก่ lequel, laquelle, lesquels, lesquelles

LOYKRATONG DAY



Loy Krathong Day is one of the most popular festivals of Thailand celebrated annually on the Full-Moon Day of the Twelfth Lunar Month. It takes place at a time when the weather is fine as the rainy season is over and there is a high water level all over the country.
"Loy" means "to float" and a "Krathong" is a lotus-shaped vessel made of banana leaves. The Krathong usually contains a candle, three joss-sticks, some flowers and coins.
In fact, the festival is of Brahmin origin in which people offer thanks to the Goddess of the water. Thus, by moonlight, people light the candles and joss-sticks,
make a wish and launch their Krathongs on canals, rivers or even small ponds. It is believed that the Krathongs carry away sins and bad luck, and the wishes that have been made for the new year due to start. Indeed, it is the time to be joyful and happy as the sufferings are floated away.
The festival starts in the evening when there is a full moon in the sky. People of all walks of life carry their Krathongs to the nearby rivers. After lighting candles and joss-sticks and making a wish, they gently place the Krathongs on the water and let them drift away till they go out of sight.
A Beauty Queen Contest is an important part of the festival and for this occasion
it is called "The Noppamas Queen Contest". Noppamas is a legendary figure from the Sukhothai period. Old documents refer to her as the chief royal consort of a Sukhothai Kng named "Lithai". Noppamas was said to have made the first decorated Krathong to float in the river on the occasion.
In Bangkok, major establishments such as leading hotels and amusement parks organise their Loy Krathong Festival and the Krathong contest as mojor annual function.
For visitors to Thailand, the Loy Krathong Festival is an occasion not to be missed. the festival is listed in the tourist calendar. Everyone is invited to take part and share the joy and happiness.
Bang Sai Loi Krathong (Festival of Lights)November 10 - 11, 2001Bang Sai Royal Arts & Crafts Centre, Ayutthaya
This event held during the full-moon in November features the launching of traditional floats (Krathongs), demonstrations and exhibitions of local handicrafts, as well as an array of other fun activities. Loi Krathong & Candle FestivalNovember 20 - 22, 2001Sukhothai Historical Park, Skhothai
It is believed that the Loi Krathong Festival originated in Sukhothai, the first Thai capital. It is therefore appropriate that this captivating event is held on the full-moon night of the twelfth lunar month amid the breathtaking ruins of this glorious ancient city. Activities include krathong floating, a fireworks display, cultural performances and an amazing light and sound show.
With permission from : Thanapol Chadchaidee. (1994). Essays on Thailand. Bangkok : Thaichareunkanpem.With permission from : Amazing Thai festival & Event. Tourism Authority of Thailand.