วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันต่อต้านยาเสพติด

26 มิถุนายน วันต่อต้านยาเสพติด
ประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหายาเสพติดมาเป็นเวลาช้านาน รัฐบาลในแต่ละยุคได้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาตลอด จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ คณะปฎิวัติภายใต้การนำของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ออกประกาสคณะปฎิวัติ ฉบับที่ ๓๗ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๐๑ ให้เลิกการสูบฝิ่นทั่วราชอาณาจักร โดยมีการเผาทำลายฝิ่นและอุปกรณ์การสูบฝิ่นที่ท้องสนามหลวงในคืนวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๔๐๒ ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๐๔ รัฐบาลได้จัดตั้ง "คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ" ใช้ชื่อย่อว่า กปส. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน และมีผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ ต่อมาในสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลได้เล็ง เห็นว่า การปราบปรามยาเสพติดไม่สามารถแก้ไขได้โดยการดำเนินการเฉพาะกรมตำรวจฝ่ายเดียว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙ ต่อสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และประกาศใช้เป็นกฏหมายเมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๙
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การแก้ไขปัญหายาเสสพติดของประเทศไทยก็ได้ดำเนินไปอย่างมีแบบแผนและเป็นระบบที่ดียิ่งขึ้น พระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือเรียกชื่อย่อว่า ป.ป.ส. โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ส. ขึ้นเป็นหน่วยงานกลางรับผิดชอบโดยตรง มีฐานะเป็นกรมกรมหนึ่งในสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปัจจุบันปัญหายาเสพติดนับวันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จากสถิติการจับกุมคดียาเสพติดทั่วประเทศ พบว่า จำนวนคดียาเสพติดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมส่วนใหญ่ ถูกจับในข้อหามีไว้ในครอบครอง และเสพยาเสพติดซึ่งก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมติดตามมา
วิธีการดำเนินงานด้านการป้องกันยาเสพติดที่ได้รับการยอมรับกันในปัจจุบันว่าเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดวิธีหนึ่ง ได้แก่ การป้องกันการใช้ยาเสพติดที่ผิด หรือที่เรียกว่า Drug Abuse Prevention ซึ่งเป็นวิธีการที่ให้ความรู้และชี้นำให้ประชาชนและเยาวชนได้ตระหนักถึงโทษและพิษภัย ตลอดจนผลร้ายของยาเสพติด ทำให้เกิดความเกรงกลัวไม่กล้าเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด อันเป็นการตัดต้นตอของปัญหาเสียแต่เนิ่นๆ ผลจากปัญหายาเสพติดได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติทั่วโลก ประเทสต่างๆ ทั่วโลกจึงได้พยายามร่วมมือกัน เพื่อหาทางหยุดยั้งปัญหายาเสพติด
ดังนั้น ในการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาเสพติดในทางที่ผิด และการลักลอบค้ายาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and Illicit Trafficking - ICDAIT) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่างวันที่ ๑๗ - ๒๖ มิถุนายน ๒๕๓๐ ที่ประชุมได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่สหประชาชาติขอให้กำหนดวันที่ ๒๖ มิถุนายนของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติด

ไม่มีความคิดเห็น: